คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

รถยนต์ ยานพาหนะที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่า การซื้อรถสักคันถือเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมเพื่อให้เราได้ซื้อรถแบบที่ไม่ต้องรอเงินก้อน นั่นก็คือ การขอสินเชื่อรถยนต์ ที่ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรถใหม่ รถมือสอง ก็สามารถยื่นเรื่องขอสินเชื่อได้ แล้ว สินเชื่อรถยนต์ คืออะไร วิธีการขอสินเชื่อ รวมไปถึงข้อมูลที่ควรรู้ก่อนยื่นขอสินเชื่อมีอะไรบ้าง 

 

สินเชื่อรถยนต์คืออะไร มีสินเชื่ออะไรบ้าง

สินเชื่อรถยนต์ คือ สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทหนึ่งที่ใช้รถยนต์เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำไปซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่ รถมือสอง โดยผู้กู้ต้องมีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด เช่น มีรายได้ประจำ มีเครดิตดี ฯลฯ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินเดือนไม่สูง สินเชื่อรถยนต์มีหลายประเภท อาทิ

 

1. สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

เป็นสินเชื่อที่ทางสถาบันการเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อรถยนต์ใหม่ ซึ่งข้อดีของ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ คือ ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ โดยผู้กู้ต้องจ่ายเงินดาวน์บางส่วน และผ่อนชำระค่างวดเป็นรายเดือน เมื่อผ่อนชำระครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์รถยนต์จะโอนมาเป็นของผู้กู้

 

2. สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์

เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ที่ผ่อนชำระรถอยู่แล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสินเชื่อ เช่น เปลี่ยนระยะเวลาผ่อนชำระ เปลี่ยนสถาบันการเงิน ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

 

สำหรับหลายคนที่สงสัยว่าการรีไฟแนนซ์ คืออะไร ซึ่งความหมายของคำว่า รีไฟแนนซ์ คือ การกู้หนี้ก้อนใหม่กับธนาคารรายใหม่เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่กับธนาคารเดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เงื่อนไขในการกู้เงินใหม่ที่มีเงื่อนไขที่ดีกว่า จัดเป็นวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ กรณีที่หนี้ก้อนเดิมมีอัตราดอกเบี้ยสูง รวมถึงการรวมหนี้จากหลาย ๆ ที่เป็นหนี้เดียว

 

3. สินเชื่อรถแลกเงิน

เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ กล่าวคือ ผู้ที่มีรถที่ผ่อนชำระหมดแล้ว แต่ต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งวิธีการก็คือนำรถยนต์และเล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริงมาสมัครขอสินเชื่อ เงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินก็จะแตกต่างกันออกไป โดยผู้กู้ยังคงสามารถใช้รถยนต์ได้ตามปกติ แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด

 

4. สินเชื่อรถยนต์มือสอง

สินเชื่อรถยนต์ ไม่ได้มีแค่เฉพาะรถใหม่ รถมือสองสภาพดี ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่จะขอยื่นสินเชื่อ สินเชื่อรถยนต์มือสอง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถในราคาประหยัดกว่ามือหนึ่ง หรือคนที่กำลังมองหารถมือสอง แต่ไม่ต้องการซื้อด้วยเงินสด 

 

นอกจากสินเชื่อรถยนต์แล้ว ก็ยังมี สินเชื่อรถจักรยานยนต์ เป็นอีกหนึ่งประเภทสินเชื่อยานพาหนะที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน โดย สินเชื่อรถจักรยานยนต์ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ รูปแบบจะคล้ายกับ สินเชื่อรถยนต์ คือ เป็นการซื้อขายรถจักรยานยนต์ในลักษณะเช่าซื้อ โดยผู้กู้ต้องจ่ายเงินดาวน์บางส่วน แล้วผ่อนชำระเป็นงวด ๆ 

  • สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ ไม่เพียงแค่ รถยนต์ เท่านั้นที่มีการรีไฟแนนซ์ มอเตอร์ไซค์ หรือ บิ๊กไบค์ ก็สามารถรีไฟแนนซ์ได้เช่นกัน โดยรูปแบบของการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ แบบโอนทะเบียน และ แบบที่ไม่โอนทะเบียน

     

 

ความแตกต่างระหว่าง สินเชื่อรถจักรยานยนต์ และ สินเชื่อรถยนต์

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับประเภทของสินเชื่อยานพาหนะไปแล้ว เรามาพูดถึงความแตกต่างของสินเชื่อรถยนต์ กับ สินเชื่อรถจักรยานยนต์ กันบ้าง แม้จะต่างก็เป็นสินเชื่อที่ใช้ยานพาหนะเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แต่ทั้ง 2 ประเภทรถก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

 

 

สินเชื่อรถยนต์

สินเชื่อรถจักรยานยนต์

วงเงินกู้

วงเงินกู้จะอยู่ที่ประมาณ 70-90% ของราคารถ

วงเงินกู้จะอยู่ที่ประมาณ 30-80% ของราคารถ

อัตราดอกเบี้ย

10-15% ต่อปี

18-25% ต่อปี

ระยะเวลาผ่อนชำระ

3-7 ปี

1-5 ปี

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมจะต่ำกว่าสินเชื่อรถจักรยานยนต์ โดยจะมีค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมประกัน ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

ค่าธรรมเนียมจะสูงกว่าสินเชื่อรถยนต์ โดยจะมีค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมประกัน ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

 

สินเชื่อรถจักรยานยนต์ และ สินเชื่อรถยนต์ ต่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ผู้กู้ควรพิจารณาจากความต้องการ งบประมาณ และการใช้งานของตนเองก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อ

 

ไฟแนนซ์ คืออะไร 

ถ้าพูดถึงผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจ ล้วนแล้วแต่เป็นบริการจากบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อ หรือที่เรียกว่า ไฟแนนซ์ หน้าที่หลักของ ไฟแนนซ์ คือเป็นตัวกลางระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้เงิน โดยไฟแนนซ์จะทำการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เสนอเงื่อนไขในการกู้ยืม เช่น ระยะเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมถึงดำเนินการติดตามผลการชำระหนี้ 

 

ประเภทของไฟแนนซ์มีอะไรบ้าง

ไฟแนนซ์มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้จ่าย ซื้อสินค้าที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่ ไฟแนนซ์ จะแบ่งตามประเภท ดังนี้

1. บริษัทไฟแนนซ์

บริษัทไฟแนนซ์ ให้บริการสินเชื่อประเภทต่าง ๆ รวมถึงเงินกู้ตามที่ลูกค้าต้องการ อาทิ สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล

2. ลีสซิ่ง (Leasing)

ลีสซิ่ง เป็นการเช่าทรัพย์สิน ที่มีราคาแพง หรือเช่าทรัพย์สินในปริมาณมาก ลักษณะจะคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์ โดยลูกค้าจะต้องชำระค่าเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อสิ้นสุดสัญญาลีสซิ่ง ลูกค้าสามารถต่อสัญญาเช่า เลือกซื้อสินค้านั้นเลย หรือ ส่งคืนสินค้าให้กับผู้ให้เช่าลีสซิ่ง

 

 

ขอสินเชื่อรถยนต์อย่างไรให้ผ่านฉลุย

เพื่อให้การยื่นขอสินเชื่อรถยนต์ของคุณ ผ่านฉลุย ไม่ติดขัด มีรถขับชัวร์ ถ้าทำตามวิธีนี้

 

1. ศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบข้อเสนอของแต่ละสถาบันการเงิน

เพื่อให้การขอสินเชื่อรถยนต์ให้ผ่านฉลุย แนะนำว่าควรเปรียบเทียบข้อเสนอจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินต่างก็มี อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ ค่าธรรมเนียม ที่แตกต่าง ศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียดให้ดี

 

1. เตรียมเอกสารไว้ให้พร้อม

โดยทั่วไป เอกสารการขอสินเชื่อรถยนต์ ก็จะมี สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สลิปเงินเดือน, หนังสือรับรองการทำงาน, สำเนาบัญชีธนาคาร เตรียมไว้ให้พร้อม

 

2. รักษาประวัติเครดิตให้ดี

สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะมีการเช็กเครดิตบูโร หรือการตรวจสอบประวัติการชำระเงินกับ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ก่อนอนุมัติสินเชื่อ หากมีประวัติการชำระหนี้ล่าช้าหรือเป็นหนี้เสีย อาจจะส่งผลต่อการพิจารณาอนุมัติ แนะนำให้ชำระหนี้สินต่างๆ ตรงเวลา ไม่ล่าช้า หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้เสีย และควรตรวจสอบประวัติเครดิตของตัวเองอยู่เสมอ

 

3. ยอดผ่อนชำระต้องสอดคล้องกับรายได้

กล่าวคือ คำนวณยอดผ่อนชำระให้สอดคล้องกับรายได้ของคุณ แนะนำว่าควรมีรายได้มากกว่ายอดผ่อนอย่างน้อย 2 เท่า หรืออาจจะเพิ่มเงินดาวน์เพื่อให้ยอดผ่อนแต่ละเดือนน้อยลง 

 

การขอสินเชื่อรถยนต์ไม่ใช่เรื่องยาก แค่เตรียมตัวให้พร้อมก่อนยื่นขอสินเชื่อ และทำตามคำแนะนำที่เราได้นำเสนอไป รับรองได้ว่า มีรถขับตามที่ตั้งใจไว้แน่นอน

 

หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อรถยนต์ และ จักรยานยนต์ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีสินเชื่อยานยนต์ ที่ครอบคลุมทั้ง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยคุณสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 1471 (จันทร์ – ศุกร์ เวลาทำการ 08.30 น. - 17.00 น.) หรือ คลิกที่นี่

 


คุณอาจสนใจ